top of page

ทำไม Festallor Education School of English ถึงแตกต่าง

อัปเดตเมื่อ 3 ก.ค. 2022

โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ เฟสเฑอเลอร์ เอ็ดดูเคชั่น ได้ประยุกต์ใช้แนวทาง และวิธีการปฏิบัติ จากประเทศผู้นำด้านภาษาอังกฤษ อันได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนนาดา สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร


ทางโรงเรียนได้แบ่งการเรียนการสอนออกเป็น 6 ระดับ ได้แก่


- A0 ภาษาอังกฤษระดับเริ่มต้น (Beginner)

- A1 ภาษาอังกฤษระดับพื้นฐาน (Elementary)

- A2 ภาษาอังกฤษระดับกลาง ขั้นต้น (Pre-Intermediate)

- B1 ภาษาอังกฤษระดับกลาง (Intermediate)

- B2 ภาษาอังกฤษระดับกลาง ขั้นสูง (Upper Intermediate)

- C1 ภาษาอังกฤษระดับสูง (Advanced)

นอกจากนี้ ทางโรงเรียนได้จัดทำหลักสูตรภาษาอังกฤษเฉพาะตัว ที่มีคุณภาพ และเป็นมาตรฐานสากล เป็นผลให้ผู้เรียนเข้าใจได้ไม่ยาก เข้าถึงหัวใจหลักของการเรียน รวมไปถึงสนุกไปกับกิจกรรมการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาในด้านต่างๆ ส่งผลให้ผู้เรียนมีความอยากเรียนรู้มากขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักคือ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้บรรลุศักยภาพสูงสุด ทั้ง 4 ทักษะ แบ่งเป็น การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ผ่านกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมและสาระอื่นๆ (a cross-cultural and cross-curricular approach) ทั้งนี้วิธีการสอนของทางโรงเรียนที่เลือกใช้ จะใกล้เคียงการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศที่เป็นต้นแบบ แต่มีความยืดหยุ่น และแปรผันตามขนบธรรมเนียมหรือวัฒนธรรมของประเทศไทย ที่น่าส่งเสริม ให้เหมาะสมกับผู้เรียนที่มีหลากหลายวัฒนธรรมจากภูมิภาคต่างๆ ให้แสดงเอกลักษณ์ที่ดีงามออกมาสู่ผู้อื่น ผ่านทางการใช้ภาษาอังกฤษ


ทางโรงเรียนมีเป้าหมายสำคัญคือ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุศักยภาพสูงสุด ในการใช้ทักษะภาษาอังกฤษของตัวผู้เรียนเอง ทั้งทักษะ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เมื่อเรียนจบหลักสูตร ผู้เรียนสามารถนำเอาความรู้ไปต่อยอดทางด้าน การเรียน การทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน ในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อผู้เรียนเรียนจบหลักสูตร สามารถเข้าเรียนในระดับที่สูงขึ้น ในสถาบันของประเทศออสเตรเลียได้ โดยไม่ต้องสอบภาษาอังกฤษ


ทางโรงเรียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์สอนที่ดี เข้าใจง่าย ไม่น่าเบื่อ ได้ความรู้สึกเหมือนเรียนภาษาอังกฤษอยู่ในต่างประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ที่ทางโรงเรียนได้กล่าวไปข้างต้น และสามารถนำไปใช้ต่อยอดได้อย่างแท้จริง


แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร

1. ส่งเสริมสนับสนุน


1.1 พัฒนาด้านบุคลากรในโรงเรียน ให้มีความกระตือลือร้นต่อข่าวสาร และเทคโนโลยีอยู่เสมอ เพื่อหาแนวทาง และวิธีการจัดการที่ดี ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนา โรงเรียน หลักสูตร และวิธีดำเนินการสอน โดยการจัดการประชุม หรือจัดทำเอกสารเผยแพร่ เป็นต้น

1.2 ส่งเสริมสนับสนุนการคิดอย่างสร้างสรรค์ของผู้เรียน ผู้ปกครอง เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ครู ผู้สอน และคุณภาพการเรียนการสอน อันได้แก่ การรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และมีการแจกเอกสารเพื่อประเมิณคุณภาพ

1.3 เช็คความพร้อมของสถานที่ จำนวนครูผู้สอน รวมถึงความพร้อมของทรัพยากรอื่นๆ เช่น เอกสาร ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน และสอดคล้องกับจำนวนผู้เรียนอยู่เสมอ


2. จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา


2.1 จัดมอบหมายบุคลากรในโรงเรียน เพื่อพัฒนาจัดทำสาระการเรียนรู้ของหลักสูตร ตามความถนัดของแต่ละบุคคลเพื่อการทำงานในหน้าที่ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.2 จัดบุคลากรเข้าประชุมอบรมการบริหารจัดการหลักสูตร ด้วยการจัดตั้งการประชุมภายในโรงเรียน และการส่งบุคลากรออกไปศึกษาหาความรู้นอกสถานที่อยู่เสมอ เพื่อนำเอาองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ได้รับ มาขยายผลให้บุคลากรในโรงเรียนได้รับทราบ และสร้างความเข้าใจทุกครั้ง และเป็นผลประโยชน์สูงสุดในพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนในโรงเรียน

2.3 จัดประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียน อันได้แก่ คณะครู บุคลากรภายในโรงเรียน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนองค์กรปกครองท้องถิ่น ตัวแทนชุมชน เพื่อวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อยของโรงเรียน ระดมความคิดช่วยกันจัดทำวิสัยทัศน์ ภารกิจ จุดมุ่งหมาย คุณลักษณะที่พึงประสงค์ โครงสร้างกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รวามไปถึงสัดส่วนระยะเวลาเรียน

2.4 จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา คำอธิบายรายวิชา การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ตามมาตรฐานที่กำหนด

2.5 จัดทำหน่วยการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้ ของแต่ละสาระการเรียนรู้


3. กำกับ ดูแลคุณภาพ


3.1 จัดการประเมินคุณภาพการด้านการกำกับดูแลคุณภาพ รวมไปถึงการติดตามการใช้หลักสูตรของสถานศึกษา การจัดระบบประกันคุณภาพภายใน การวิจัย และติดตามผลการเรียนการสอน เพื่อให้สามารถจัดหลักสูตรการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.2 ทำความเข้าใจกับคณะครูในโรงเรียน ในเรื่องการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ รวมไปถึงส่งเสริมการใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย การสร้างบรรยากาศในโรงเรียนให้ร่มรื่นสวยงาม เอื้อต่อการเรียนรู้ อีกทั้งการแนะแนวนักเรียน ทั้งในด้านการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และปัญหาด้านอื่นๆ

3.3 การกำกับ ติดตาม และประเมินผล เช่น การวางแผนการติดตามไว้เป็นระยะเพื่อให้การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาเป็นไปตามทิศทาง และเป้าหมายที่วางไว้อย่างแท้จริง

bottom of page